ปัจจุบันเทคนิคการทำเสื้อค่อนข้างมีให้เลือกมากกว่าแต่ก่อน การพิมพ์ลายเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจสำหรับองค์กร บริษัท ห้างร้าน ต่างๆ เพราะด้วย ความสามารถและผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ เสื้อพิมพ์ลาย จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
เสื้อพิมพ์ลายคือ การพิมพ์ลายลงกระดาษ เป็นกระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์โดยเฉพาะ และนำกระดาษที่พิมพ์วางไปบนเนื้อผ้าสีขาวแล้วรีดด้วยความร้อน น้ำหมึกจากกระดาษจะถ่ายเทลงไปในเนื้อผ้านั่นเอง สมมุติว่าเราพิมพ์ลายทั้งตัวเสื้อ เราจะดูไม่รู้เลยว่าเสื้อตัวนั้นเป็นสีขาวมาก่อน
หลายๆ คนคงสงสัยว่าและสกรีนแบบปกติกับการพิมพ์ลายแตกต่างกันยังไง
การสกรีนแบบปกติจะเรียกว่า “ Silk Screen ” จะเป็นงานที่ต้องทำแม่พิมพ์ขึ้นมาแยกตามสี และปาดสีลงไปทีละสี การสกรีนแบบปกติจึงนิยมใช้ในการสกรีนแบบสีไม่เยอะมาก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาพอสมควร จึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการไล่เฉดสี ลายเยอะ ดังนั้นงานประเภทนี้นอกจากต้องมีสกิลในการใช้โปรแกรมทำแบบแล้ว ยังต้องมีความเป็นมืออาชีพในเทคนิคด้านการสกรีนสีลงบนเสื้อด้วย เพราะว่า ต้องใช้สมาธิ ความเชี่ยวชาญในการทำเป็นอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของงานสกรีนแบบธรรมดานั้นไม่สามารถไล่เฉดสีได้ แบบภาพเหมือนก็ทำได้ยาก ดังนั้นเสื้อพิมพ์ลายจึงกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง
อย่างแรกเลยคือ การพิมพ์ลาย สามารถไล่เงาไล่เฉดได้เป็นล้านๆเฉด คมชัด สวยเนียนกริบ และ สามารถพิมพ์ลายเป็นภาพเสมือนจริงได้ สีติดแน่นไม่หลุด ไม่ตก ใส่แล้วสบาย คล่องตัว แถมยังดูแลรักษาง่ายใช้ได้เป็นระยะเวลานาน
ราคาของเสื้อพิมพ์ลายค่อนข้างดี และยิ่งผลิตเยอะ ราคายิ่งถูกลงอีกด้วย
เป็นอีกหนึ่งสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ โปรโมทสินค้า ให้กับองค์กร หรือ แบรนด์ได้โดยพนักงานที่สวมใส่
สามารถออกแบบได้ตามความต้องการโดยไม่มีข้อจำกัดมาปิดกั้น ทั้งเรื่องของสีและแบบภาพ
ผู้สวมใส่สามารถใช้ใส่ได้หลากหลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นนั่งทำงานใน ออฟฟิศ ออกไปทำงานนอกสถานที่ ทำกิจกรรม สัมมนา ออกบู้ทแสดงสินค้า เสื้อยูนิฟอร์มพนักงาน หรือ Outting ต่างๆ
สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เป็นเสื้อกีฬา เสื้อโปโล และเสื้อยืด เป็นต้น
ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มีความเป็นทีม เสริมบุคลิกให้ดูดี เรียบร้อย มีความเป็นมืออาชีพ
เนื้อจากเป็นผ้าโพลี สีสันสดใส ผ้าเบา สบาย และไม่ต้องรีด จึงประหยัดเวลาผู้สวมใส่ได้อีกเยอะ
จึงทำให้เสื้อพิมพ์ลายเป็นที่นิยมในหมู่กลุ่มธุรกิจ และ องค์กรต่างๆ
การพิมพ์ซับลิเมนชั่น Sublimation คือ การพิมพ์แบบลงไปยังกระดาษด้วยน้ำหมึกซับลิเมชั่น กระบวนการทำงานจะเริ่มโดยการสั่งพิมพ์รูปลงไปยังบนกระดาษซับลิเมชั่น จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ไปวางทับลงบนผ้าแล้วรีดด้วยความร้อน 200 องศา โดยการกดทับเพื่อถ่ายเทตัวน้ำหมึกจากกระดาษลงบนเนื้อผ้าโดยกำลังการผลิตประมาณ 10,000 ตร.ม. ต่อ ชม. สามารถรองรับงานจำนวนเยอะได้
เนื้อผ้าที่ใช้ในงานพิมพ์ซับลิเมชั่นต้องมีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ Polyester 100% หรือมีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ผ้าทีซี (TC) ผ้าทีเค (TK) ผ้าชีฟอง ผ้าซาติน ผ้าไหม ฯลฯ ไม่ควรนำผ้าที่เป็นใยธรรมชาติมาใช้ เช่น ผ้า Cotton และงานผ้าที่มีลักษณะสีที่เข้ม เนื่องจากในการทำงานของระบบงานพิมพ์แบบซับลิเมชั่น สีหมึกซับลิเมชั่นจะไปจบกับตัวเนื้อผ้าเพื่อให้ออกสี แต่ถ้าลักษณะผ้าที่ออกสีเข้ม เมื่อพิมพ์งานลงไปจะทำให้สีที่ออกมานั้นจะแตกต่างกับงานที่ได้ออกแบบไว้
ทำให้ปัจจุบันเกิดการคิดค้นและพัฒนาการผลิตเนื้อผ้าใหม่ๆที่มีส่วนผสมเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ หมึกจะเข้าไปติดอยู่ที่เนื้อผ้าเลย และข้อดีของการพิมพ์ผ้าด้วยระบบซับลิเมชั่นนั้น คือ ภาพที่พิมพ์มีความคมชัดสูง มีสีสันที่สดใส ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสีสามารถพิมพ์ลายต่อเนื่องได้ และสามารถซักหรือรีดทับได้
งานพิมพ์ระบบซับลิเมนชั่น Sublimation ยังสามารถพิมพ์ได้กับวัสดุที่หลากหลายประเภท ที่ไม่เฉพาะแค่งานผ้าเท่านั้น งานพิมพ์ซับลิเมนชั่น ยังสามารถพิมพ์ได้กับ หนัง PVC แก้ว เคสโทรศัพท์ หมวก อะคิลิค ฯลฯ ได้อีกด้วย
การพิมพ์ซับลิเมชั่น (Sublimation) เป็นวิธีการพิมพ์สิ่งทอชนิดหนึ่ง โดยพิมพ์ลงบนกระดาษชนิดพิเศษด้วยหมึกพิมพ์ Sublimation จากนั้นจึงนำกระดาษชนิดพิเศษที่ถูกพิมพ์แบบลงไปแล้ว Transfer ลงเนื้อผ้าโดยใช้ความร้อนและแรงดันร่วมกัน ด้วยวิธีนี้ ทำให้หมึกจะยึดติดกับเนื้อผ้าได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้งานพิมพ์สวยงาม มีชีวิตชีวา และสีไม่ซีดจาง
คุณสมบัติของการพิมพ์ Sublimation
ได้สีที่คงทนเนื่องจากการพิมพ์ชนิดนี้ ใช้ความร้อนรีดสีเข้าไปอยู่ในใยผ้า จะได้ผิวสัมผัสที่เรียบเนียนเหมือนเป็นเนื้อเดียวกับตัวผ้าเลยทีเดียว
ไม่จำกัดสี! การพิมพ์แบบนี้ สามารถเลือกใช้ได้ทุกเช็ดสี อีกทั้งยังไม่มีข้อจำกัดของรายละเอียดกราฟฟิกที่นำมาใช้อีกด้วย
ให้ลายที่ มีสีสัน และ สวยสดใส ยิ่งพิมพ์บนผ้าไมโครโพลีแล้วคุณภาพก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
นำมารัดทีบ หรือ ซักได้
เสื้อพิมพ์ลาย Sublimation กับ เสื้อย้อมสี แตกต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่า เพราะเชื่อว่าหลายคนคงอยากได้ลายทั้งตัวเสื้อ แต่ก็ลังเลว่าเทคนิคไหนดี บทความนี้จะมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างสองเทคนิค ให้คุณได้เข้าใจและช่วยในการตัดสินใจของคุณได้
ผ้าย้อมสี
คือ การนำเส้นด้ายมาย้อมให้เกิดสีที่ต้องการ สามารถย้อมสี ได้ทั้งเส้นใยธรรมชาติ หรือ เส้นใยสังเคราห์ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องชนิดของ เส้นใย และนำมาทอขึ้นเป็นผืนผ้า ตัวผ้านั้นจะมีสีเดียวกันทั้งพื้น แต่ถ้าพูดถึงเรื่องเฉดสี จะมีตัวเลือกให้เราไม่มากนัก ผ้าย้อมสีนิยมนำมา ตัดเย็บขึ้นเป็นเสื้อยืดพื้นๆ ชุดแฟชั่น ฯลฯ
ที่ไม่ต้องการ ให้มีลวดลายบนผ้ามากนัก แต่ถ้าเราต้องการ ให้มีลวดลายบนผ้า สามารถนำมาผ่าน กระบวนการทางเทคนิคเสริมได้ เช่น การ สกรีน ปัก หรือ การรีดเฟล็กซ์ เทคนิคเหล่านี้ มีข้อดี-ข้อเสียและราคาที่แตกต่างกันออกไป ถ้าพูดถึงเรื่องต้นทุนนั้น ตัวผ้าย้อมสี มีต้นทุนสูงกว่าผ้าสีขาวแล็กน้อย
ผ้าพิมพ์ลาย
คือ การนำผ้าพื้นสีขาว มาพิมพ์ลาย (Sublimation) โดยกระบวนการทำงานจะเริ่มที่การสั่งพิมพ์ภาพหรือลายที่ต้องการลงบนกระดาษ จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ ไปวางบนผ้าแล้วรีดด้วยความร้อน หรือเครื่องรีดโรล ผ่านการกดทับเพื่อถ่ายเทน้ำหมึกจากกระดาษลงบนเนื้อผ้า
ทำให้สีซึมลงบนเนื้อผ้า และได้ลายตามที่เราต้องการ ผ้าที่นำมาใช้ในงานพิมพ์ซับลิเมชั่น จะต้องมีส่วนผสมของใยโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ทำให้ปัจจุบันเกิดการคิดค้นและพัฒนาการผลิตเนื้อผ้าใหม่ๆที่มีส่วนผสมเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพื่อนำมาใช้งานได้กับการพิมพ์ซับลิเมชั่น
ข้อแตกต่างระหว่าง ผ้าย้อม และ ผ้าพิมพ์ลาย
1. สี
ผ้าย้อม : มีสีให้เลือกไม่มากนัก เนื่องจากผ้าแต่ละสีนั้น มีการสั่งผลิตขึ้นมาในจำนานมากๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดเท่านั้น เฉดสีอื่นๆสามารถสั่งย้อมขึ้นมาเป็นพิเศษได้ แต่ไม่นิยมเนื่องจากต้องสั่งในจำนวนมากๆ
ผ้าพิมพ์ : ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสีเลย สามารถใช้ได้ทุกเฉดสี เนื่องจากเทคนิคการพิมพ์ Subilmation แต่ต้องพิมพ์ลงบนผ้าที่มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์เท่านั้น
2. ลาย
ผ้าย้อม : ไม่สามารถทำลวดลายจากการพิมพ์ได้ ต้องเป็นสีที่มาจาก เส้นด้ายโดยตรงเท่านั้น แต่สามารถนำมา สกรีน ปัก หรือ รีดเฟล็กซ์ เพิ่มเติมแทนได้เช่นกัน
ผ้าพิมพ์ : สามารถพิมพ์ลวดลายได้ไม่จำกัด
3. กระบวนการเย็บ
ผ้าย้อม : ผ้าย้อมสี เมื่อนำมาเย็บขึ้นเป็นชิ้นงาน ตามรอยตะเข็บจะไม่เห็นสีที่แตกต่าง เนื่องจาก สีถูกย้อมลงบนเส้นด้าย และทอขึ้นมาเป็นผืนผ้า
ผ้าพิมพ์ : เมื่อผ้าที่ถูกพิพม์ลายแล้ว นำมาเย็บ จะทำให้เห็นสีพื้นของตัวผ้าไม่ติดสีตามรอยตะเข็บ
4. การดูแลรักษา
ผ้าย้อม : เมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน จะทำให้สีซีดหรือสีตกและหลุดลอกได้ง่าย ไม่สามารถซักในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงได้กรณีที่ตัวผ้ามีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์มากกว่า
ผ้าพิมพ์ : ดูแลรักษาง่าย สีไม่ซีด ไม่ตก เมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถซักในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงมากได้
5. ราคา
ผ้าย้อม : ราคาของผ้าขึ้นอยู่กับสีที่เลือกย้อม ไล่ราคาจาก สีอ่อน ไปสีเข้ม
ผ้าพิมพ์ : ราคาของการพิมพ์จะคิดเป็นหลา ยิ่งมีการสั่งพิพม์ในจำนวนที่มาก ราคาจะถูกลงไปอีกจากข้อแตกต่างทั้ง 5 ข้อ ที่กล่าวมาเราจะเห็นข้อแตกต่างของ ผ้าย้อมสี และ ผ้าพิมพ์ลาย ว่าผ้าพิมพ์ลายจะให้สีสันสดใสและเฉดสีมากกว่า ผ้าย้อมสี แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่สูงกว่าเช่นกัน ทางธน พลัส 153 ก็มีการพิมพ์ลายซับลิเมชั่น หากสนใจติดต่อได้ทางช่องทางด้านล่างนี้เลย
ผ้ายอดขายอันดับ 1
Micro หรือ Mircrofiber คือผ้าที่ผลิตจากเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ซึ่งเป็นเส้นในสังเคระห์ ที่มีขนาดเล็ก และ มีการเพิ่มช่องว่างในเส้นใย ทำให้ เนื้อผ้า มีเนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่ม ไม่เป็นขน บางเบา ระบายอากาศได้ดี แห้งเร็ว ไม่แนบตัว เป็นชนิดผ้าที่พิมพ์ Sublimation ได้สวยงามที่สุด และระบายอากาศได้ดีกว่า polyester ทั่วไป นอกจากนี้ผ้า Micro ยังมีคุณสมบัติแห้งเร็ว ไม่ซับเหงื่อ ใส่แล้วยับยาก ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ผ้า Micro นิยมนำมาใช้ทำเสื้อกีฬากันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับเสื้อกีฬาและอื่นๆ
ผ้าไมโคร (micro polyester) คือผ้าที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) ลักษณะทั่วไป เนื้อผ้าไมโครจะมีเนื้อผ้าที่ผิวผ้าค่อนข้างมัน และ นุ่มลื่น เนื่องจากเส้นใยนั้นมีความมันคล้ายเส้นใหม่แต่มีขนาดที่เล็กกว่า และมีคุณสมบัติมากมายซึ่งจะสรุปหลักๆได้ดังนี้
เนื้อผ้านั้นมีความนุ่ม - จุดเด่นของเนื้อผ้าไมโครไฟเบอร์นั้นคือเนื้อสัมผัสที่นุ่มกว่าเนื้อผ้าปกติ และด้วยคุณสมบัติของเส้นใยสังเคราะห์ขนาดเล็ก (micro polyester) ทำให้เนื้อผ้าไม่เป็นขน และ มีน้ำหนักที่เบา
ระบายอากาศได้ดี - เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อผ้าไมโครนั้น เพิ่มช่องว่างระหว่างเส้นใยทำให้เกิดรูอากาศทั่วเนื้อผ้า ทำให้ระบายอากาศได้ดี แห้งเร็ว และทำให้ไม่ซับเหงื่อเนื่องจากการระบายอากาศ จึงเหมาะกับอากาศร้อน และ เหมาะสำหรับทำเป็นเสื้อกีฬา
เนื้อผ้ายับยาก - อีกคุณสมบัติหนึ่งของ micro polyester นั่นคือ เส้นใยจะคงความเป็นเส้นมากกว่าเส้นไหมทั่วไปทำให้เกิดรอยยับได้ยากกว่า ทำให้ไม่ต้องรีด
ไม่แพ้ง่าย - เนื่องจากตัวผ้านั้นจะไม่เก็บฝุ่นจากการระบายอากาศที่ทำได้ดีและไม่เป็นขนทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ฝุ่นเหมาะสำหรับบางคนที่มีอาการแพ้ฝุ่น
แข็งแรง - ด้วยคุณสมบัติของเส้นใยสังเคราะห์ (Polyester) ที่มีความยืดหยุ่นและความเหนียวสูงทำให้ขาดได้ยากกว่าเนื้อผ้าปกติทั่วไปและจึงนิยมใช้ทำเสื้อกีฬาเนื่องจากใช้การเคลื่อนไหวสูง
ผ้าจูติ หรือ ผ้าปิเก้ (Pique) เรียกได้ว่าเป็นผ้าไมโครโครงสร้างดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นผ้าที่มีลักษณะการถักเป็นรูปหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง ทำให้โครงสร้างด้านหน้าจะเป็นรูเหมือนรังผึ้ง ส่วนด้านหลังจะมีลักษณะของลายที่เรียบ ผ้าโครงสร้างแบบจูตินั้น จะมีเนื้อผ้าที่ค่อนข้างหนา จึงนิยมทำเป็นเสื้อโปโล
คุณสมบัติเด่นของเนื้อผ้าจูติไมโครนั้นคือ หากทำเป็นเสื้อนั้นจะทำให้รู้สึกถึงการสวมใส่ที่สบาย ผิวสัมผัสนุ่ม ไม่ระคายเคือง ระบายอากาศค่อนข้างดี ดูแลรักษาได้ง่าย ไม่เป็นขน เกิดผ้าย้วยได้ยาก ไม่การรอยยับ ทำให้เไม่ต้องรีดบ่อย เป็นผ้าที่นิยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะเงาเล็กน้อย และมีเนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่ม ไม่เป็นขน บางเบา และระบายอากาศได้ดีกว่า polyester ทั่วไป นอกจากนี้ผ้า Micro ยังมีคุณสมบัติแห้งเร็ว ไม่ซับเหงื่อ ใส่แล้วยับยาก
มีส่วนผสมมาจาก ใยสังเคราะห์ 100% หรืออยู่ในตระกูล Polyester และ เหล่าผ้า ไมโคร นั่นเอง มีลักษณะบนผ้าเป็นลาย 6 เหลี่ยม ไม่เล็ก และ ไม่ใหญ่จนเกินไป คล้ายเม็ดข้าวโพดนั่นเอง เนื้อผ้าจะ นิ่มๆ บาง เบา รู้สึกใส่แล้วสบายตัว ไม่ร้อน ไม่หดตัว ไม่ยับง่าย เป็นผ้าที่มีการทอแบบพิเศษ เนื้อผ้าจะมีความโปร่ง เนื้อผ้าจะมีความเงามากกว่าชนิดอื่น มีความยืดหยุ่นและระบายอากาศได้ดีมาก